เนื้อหาล่าสุด
17th Jul

2020

รายงานวิจัยเรื่อง “การจัดโซนนิ่งระบบทางการเกษตรมรดกโลกเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและการท่องเที่ยวของประเทศไทย: ระยะ ที่ 1”

รายงานวิจัยเรื่อง  “การจัดโซนนิ่งระบบการเกษตรมรดกโลกเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและการท่องเที่ยวของประเทศไทย: ระยะที่ 1”

ศึกษาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ และคณะ

วัตถุประสงค์
1.ศึกษารูปแบบเกษตรกรรมบนพื้นฐานแนวคิดซะโตะ-ยะมะ (Satoyama) ซะโตะ-อุมิ (Satoumi) และซะโตะ-คะวะ (Satokawa) ที่มีความคล้ายคลึงกับระบบเกษตรพอเพียง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระบบทางการเกษตรมรดกโลกของประเทศญี่ปุ่น โดยวิเคราะห์คุณลักษณะ การจัดการโซนนิ่ง และศึกษาแผนการจัดการพื้นที่กับการสร้างมูลค่าด้านการท่องเที่ยว เพื่อถอดบทเรียนรู้สู่การสังเคราะห์ระบบทางการเกษตรมรดกโลกของประเทศไทย
2.สร้างกรอบแนวคิดการจัดการโซนนิ่งระบบเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำเสนอเป็นระบบทางการเกษตรมรดกโลกของประเทศไทย ตลอดจนวางแนวทางการจัดการพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาดและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร(Agro-ecotourism)ที่เน้นประสบการณ์การเรียนรู้ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม
3.เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและการสร้างความร่วมมือระดับระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศเพื่อการรักษาคุณค่าวิถีการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงจากการเป็นระบบเกษตรมรดกโลก

สามารถอ่านในรูปแบบ E-Book ได้ที่
https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/20200009/

ขอขอบคุณโครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้ความอนุเคราะห์จัดทำ E-book มา ณ ท่ี่นี้

Share This :